สรุปเบื้องต้น ควบคุมการก่อหนี้ของครู จะกู้ได้ต้องมีเงินเหลือในบัญชีไม่น้อยกว่า 30% - krutom.page::เว็บไซต์เพื่อการศึกษาของครูษิญาภาใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบ Online และ On Demand
google.com, pub-5443235059038030, DIRECT, f08c47fec0942fa0
https://www.chulatutor.com/ap/

ข่าวล่าสุด

พิ้นที่โฆษณา

Post Top Ad

พื้นที่โฆษณา

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

สรุปเบื้องต้น ควบคุมการก่อหนี้ของครู จะกู้ได้ต้องมีเงินเหลือในบัญชีไม่น้อยกว่า 30%

 


พร้อมมอบหน่วยงานเกี่ยวข้อง ทำการบ้าน มาตรการไหนทำได้ให้นำร่องไปก่อน และแบ่งหนี้ตามระดับวิกฤต

        8พ.ย.2564-นายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ที่ปรึกษา รมว.ศธ.) ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินครูของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครูที่มีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้ครู ซึ่งเริ่มตั้งแต่การลดดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก การลดยอดหนี้ด้วยหุ้นสหกรณ์ หรือการนำเงินสะสมในอนาคตจากจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือเงินโครงการสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ไปลดยอดหนี้ นอกจากนี้ยังมีมาตรการงดการจ่ายค่าธรรมเนียมเงินกู้ เช่น เมื่อผู้กู้ต้องไปทำเงินประกันเงินกู้ ซึ่งกรณีนี้ผู้กู้ส่วนใหญ่จะมีหุ้นอยู่กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอยู่แล้ว หรือแม้แต่การมีเงินจากกองทุนสะสมต่างๆที่เงินในอนาคต สามารถนำมาค้ำประกันได้จึงไม่จำเป็นให้ผู้กู้ต้องไปทำประกันเงินกู้ เพื่อสร้างภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมไปอีก ซึ่งจะมีการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู (สกสค.) ในการแก้ไขประเด็นนี้ด้วย

        นายสุทธิชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการควบคุมการการกู้เงินของครู เนื่องจากปัจจุบันพบครูมีหนี้จำนวนมาก และไม่มีการควบคุมการปล่อยกู้ให้แก่ครูอย่างเป็นระบบ ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อครูไปกู้เงินสถาบันการเงินจะเห็นแค่ใบรับรองเงินเดือน แต่ไม่ได้มีข้อมูลระบุว่าครูไปกู้เงินจากสถาบันการเงินที่ไหนบ้าง และจะต้องมีศักยภาพกู้เพิ่มได้อีกเท่าไร่ ดังนั้น ต่อจากนี้ไปหากครูมีความประสงค์จะไปกู้เงินอีก จะมีคณะกรรมการเข้ามาควบคุม โดยจะทำงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถาบันการเงิน ซึ่งครูที่ต้องการจะกู้เงินจะต้องมีเงินเดือนเหลือในบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ด้วย สำหรับกรณีการคัดเลือกสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 19 แห่งให้นำร่องแก้หนี้ครูนั้น ขณะนี้มอบหมายให้สกรณ์กลุ่มดังกล่าวไปเขียนแผนเสนอแนวทางมาว่าในมาตรการต่างๆ ที่ ศธ.กำหนดจะเลือกดำเนินการมาตรการไหนได้บ้าง เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ทันที

“การประชุมในครั้งนี้ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง กรมส่งเสริมการเกษตร สกสค. ไปทำการบ้านกลับมาว่าในมาตรการต่างๆ จะดำเนินการสำเร็จได้มากน้อยแค่ไหน เพราะรมว.ศธ. ได้ย้ำให้ทำมาตรการให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ซึ่งมาตรการไหนที่ทำได้ให้นำร่องทำไปก่อน เช่น มาตรการลดดอกเบี้ย เป็นต้น เพราะการแก้ปัญหาหนี้ครูเราจะแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายตามระดับวิกฤตของหนี้ครู”ที่ปรึกษา รมว.ศธ.กล่าว


ที่มา: ไทยโพสต์ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

พื้นที่โฆษณา